เปรียบเทียบระบบโทรศัพท์ ทั้งแบบ PABX, IPPBX และ Cloud PBX

PABX

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาระบบโทรศัพท์ สำหรับใช้งานในหน่วยงาน องค์กร คงมีคำถามว่า จะติดตั้งระบบโทรศัพท์แบบไหนถึงจะเหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งแบบ PABX, IPPBX และ Cloud PBX  วันนี้เรามาทำความเข้าใจทั้ง 3 ระบบที่มีใช้งานในปัจจุบัน

PABX

1.ระบบ PABX  ตู้สาขาโทรศัพท์ จะมีทั้งแบบ Analog และ Digital  ระบบนี้จะเป็นระบบที่ใช้กันมานาน กว่า 20 ปี ซึ่งตู้สาขาก็จะมีฟังชั่นพื้นฐาน เช่นเสียงตอบรับอัตโนมัติ การโอนสายภายใน  โทรหากันภายใน โดยตู้สาขา PABX จะมีช่องต่อแบบ rj11 หรือ rj45  สำหรับ ต่อสายสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์ แบบกลม TIEV  หรือที่เรียกว่าสายสเตชั่นวาย  ซึ่งภายในสายจะมี 1 คู่สาย 2core   เท่ากับว่า ถ้าเรามี 16 คู่สายภายใน ก็ต้อง ลากสาย 16 เส้น มาที่ตู้สาขา เพื่อใช้งาน รวมถึงสายภายนอก ตามจำนวนคู่สายที่ใช้ด้วย   ตู้สาขาแบบนี้ ยังเป็นที่นิยม เพราะราคาประหยัด และมีฟังชั่นพื้นฐานครบถ้วน ติดตั้งใช้งานง่าย ไม่มีค่ารายเดือน นอกจากค่าเช่าคู่สายภายนอก  อายุการใช้งาน 5-10 ปี  โดยตู้สาขาโทรศัพท์แบบ PABX ราคาเริ่มต้นเพียงแค่ 1,500 เท่านั้น จะไปถึงระบบ 100,000 บาท ขึ้นกับจำนวน คู่สายภายในที่ใช้งาน  แต่ถ้าจำนวนคู่สายจำนวนมากหลัก 100 คู่สายขึ้น แนะนำ ให้ติดตั้งกับช่างที่มีความชำนาญเดินสายโทรศัพท์ เพราะต้องมีการไล่สายจำนวนมาก  แต่ถ้าเป็นตู้รุ่นเล็กจำนวนคู่สายไม่มาก ไม่เกิน 50

IPPBX

2. ตู้สาขาแบบ IP หรือ IP-PBX  ระบบ IP-PBX มองง่ายๆ เหมือนเป็น เครื่อง PC หรือ server ขนาดเล็ก ที่ติดตั้ง software PBX ลงไป  ซึ่งถ้าเป็น IP-PBX เพรียวๆ เลย จะมีแค่ port LAN  สำหรับ เชื่อมต่อเข้าระบบ Network  เพื่อให้ โทรศัพท์ ที่เป็น IP Phone หรือ Softphone  register เข้ามาใช้งานได้  ข้อดีหลักๆ ของระบบ IP-PBX คือ ฟังชั่นการใช้งาน จะมีมากกว่า PABX เช่นการเก็บ log การโทร การบันทึกเสียงสนทนา (ขึ้นกับพื้นที่จัดเก็บข้อมูล)  การใช้งานผ่าน Internet ได้ทุกที่ ถ้ามี Internet เชื่อมเข้ามาที่ตัว IP-PBX ทำให้ผู้ใช้งานอยู่ที่ไหนก็ได้ สามารถมีเบอร์ต่อภายใน ใช้งานได้เสมือนนั่งอยู่ office  และระบบ IPPBX เนื่องจากต่อเข้าระบบ Network ในบริษัท ทำให้ไม่ต้องเดินสายโทรศัพท์ แยกต่างหาก และระบบเสียงก็เป็น แบบ HD คุณภาพสูง   แต่ข้อเสียคือ ระบบ IPPBX ต้องมีเจ้าหน้าที่ๆ มีความชำนาญด้าน ไอที ดูและ เพราะติดตั้งและดูแลยุ่งยากกว่า รวมถึง ค่าเครื่องโทรศัพท์ ที่เป็น แบบ IP Phone ราคาจะสูงกว่าแบบ Analog เกินเท่าตัว และยังต้องใช้ ไฟเลี้ยง ทั้งจาก POE Switch หรือ Adaptor

Cloud PBX

3. ระบบโทรศัพท์ แบบ Cloud PBX ฟังชั่น จะเหมือน กับ IPPBX แต่จะเป็นการเช่าใช้ ระบบที่อยู่บน Cloud ไม่มีค่าอุปกรณ์ ผู้ใช้งานบริหารจัดการผ่าน Browser  ทาง Internet   ค่าบริการจะคิดเป็นรายเดือน ตามจำนวนผู้ใช้งาน และค่า IP Phone ถ้าต้องการโทรศัพท์ ติดตามโต๊ะทำงาน  รวมถึงระบบนี้ ต้องพื่งพาการใช้งาน Internet ตลอดเวลา ดังนั้น ถ้า Internet มีปัญหาก็จะไม่สามารถใช้งานได้เลย